วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1. ชื่อเรื่อง (Title) วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็น กองประชาสัมพันธ์ เขตสุราษฎร์ธานี ขึ้นอยู่ในส่วนการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ จึงมีการเปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงกองประชาสัมพันธ์เขตสุราษฎร์ธานี มีชื่อย่อว่าสถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส. สุราษฎร์ธานีที่ทำการประชาสัมพันธ์ภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ.ดอนนก ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี มีชื่อเรียกว่า สถานีวิทยุกระจายเสียงประชาสัมพันธ์ภาคใต้เนื่องจากประชาสัมพันธ์ภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานหลักขณะนั้นถูกเรียกว่า สำนักงานประชาสัมพันธ์ภาคใต้ และสถานีวิทยุแห่งนี้เองนับเป็นเครื่องมือสื่อสารของประชาสัมพันธ์ภาค ที่ถูกใช้ถ่ายทอดข่าวสารจากภาครัฐไปยังประชาชนผ่านเครื่องส่งวิทยุกระจาย เสียง ระบบ เอ.เอ็ม. ขนาดกำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ ยี่ห้อ คอนลิน เสาอากาศสูง 30 เมตร
S= Strength
-เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชนจำกัด และเป็นกิจการสื่อสารมวลชน ภายใต้การกำกับของรัฐบาลไทย โดยสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งแตกต่างจากองกรณือื่นๆ คือส่วนใหญ่ เป็นองค์กรเอกชน

-กิจการวิทยุโทรทัศน์ แพร่ภาพออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยระบบสี 625 เส้น จากสถานีแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในภูมิภาคจำนวน 35 สถานี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไทย

-มีความมั่นคงมากว่า 59 ปี

-มีความน่าเชื่อถือ

W = Weakness
-ช่องฟรี TV , UBC ,CABLE TV
O = Opportunity

- มีประชนชนโดยส่วนใหญ่ยังคงรับชม และติดตามข่าวสาร และสาระความบันเทิงของกิจการสื่อสารมวลชนของทางบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)ยังเหนี่ยวแน่นอยู่

T = Threat
-การมีสื่อใหม่ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
-ส่วนแบ่งทางการตลาด ยังคงมีมากอยู่


3. วัตถุประสงค์ (Objective) "สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นผู้นำด้านวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้น การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนให้มีโอกาสรับรู้ เข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของรัฐเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด"
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target) ด้านกายภาพ ประชาชนทั่วไปที่ฟังวิทยุ

ด้านกายภาพ- ประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี


ด้านจินตภาพ/-เป็นบุคคลที่ชอบรับฟังข่าวสารและชอบฟังวิทยุ



5. แนวความคิด (Concept) ใกล้ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้กัน


6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)


1. ดำเนินงานประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้าน
ข้อมูลข่าวสาร

2. ให้คำปรึกษา และคำแนะนำด้านการประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่น

3. เป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน

4. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการ

5. ประชาสัมพันธ์ โครงการพระราชดำริ นโยบายของรัฐ และโครงการเฉพาะกิจ

7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone) สนุก




ร่าเริง




ชอบฟังเพลง




8. ผลตอบสนอง (Desired response) เป็นการตอบรับที่น่าพอใจ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553




1. ชื่อเรื่อง (Title): Reebok: Reetone
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T:Reetone เป็นโฆษณารองเท้า
เป็นโทนนิ่งเทคโนโลยีที่ตอนนี้สำหรับการเรียกใช้งาน : runtone
เป็นเสียงและขาขึ้นกับคุณในการทำงานทุกอย่าง นอกจากนี้ยังมี : traintone สำหรับการทำงานออกสถานที่และ easytone สำหรับทุกท่านที่นำไป
ใช้งานแบบ Easytone
Runtone
Traintone
3. วัตถุประสงค์ (Objective): 1.เพื่อสร้าง Train ใหม่
2.เพื่อบ่งบอกถึงความง่าย เบาสบาย
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target):กลุ่มบุคคลทั่วไป
5. แนวความคิด (Concept):Easytone Runtone Traintone

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support):เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและดูดีในทุกๆลักษณะ
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone):ง่ายๆ
:ใช้งานได้ทุกที่
:แลดูทันสมัย
8. ผลตอบสนอง (Desired response):เป็นที่ตอบรับและยอมรับของคนทั่วไป

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


แนวโน้มการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สื่อใหม่-สื่อเก่าร่วมชิงงบแสนล้าน
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละสื่อล้วนพัฒนารูปแบบได้โดนใจผู้บริโภค และผู้ใช้บริการยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ New Media ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในกลุ่มคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่นั้น มีการศึกษาพบว่าไม่ได้ทำให้สื่อแบบเก่าประเภท โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ลดความนิยมลง
แม้ว่าภาพรวมของการโฆษณาบ้านเราจะไม่เติบโตเหมือนกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่จากตัวเลขที่ขยับถึง 9.3 หมื่นล้านบาทเมื่อถึงช่วงปลายปี 2549 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่มากกว่าปีที่ผ่านมาราว 4% ทำให้คาดการณ์ว่าปีหน้าอุตสาหกรรมโฆษณาบ้านเราน่าจะทะลุ 1 แสนล้านบาทแน่นอน “เมื่อเทียบระหว่างปี 2548 กับ 2549 ตัวเลขการใช้สื่อหลักส่วนมากจะเพิ่มขึ้น เพราะทุกปีสื่อพยายามจะขอขึ้นราคา ยกเว้นหนังสือพิมพ์กับนิตยสารเท่านั้นที่ยอดการการใช้จ่ายผ่านสื่อทั้งสองต่ำลง เนื่องจากเกิดจากการแข่งขันสูงในวงการของตัวเอง แม้จะมีจำนวนหัวหนังสือเท่าเดิม แต่งบที่ไปลงในแต่ละสื่อลดลง หากสังเกตดูจะพบว่าโฆษณาอสังหาริมทรัพย์ โฆษณาจากภาคราชการ โฆษณาเลือกตั้งของพรรคการเมือง รวมถึงรถยนต์ที่ลดการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ไปพอสมควร เพราะรถรุ่นใหม่ๆ ออกไม่มากเท่าปีก่อนๆ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทซื้อสื่ออิสระรายใหญ่สุดในเมืองไทย กล่าว

ส่วนสาเหตุที่ตัวเลขใช้งบในนิตยสารปีนี้ลดลง เพราะมีการแข่งขันของหนังสือหัวใหม่ที่เปิดเพิ่มขึ้นถึง 20 เล่ม ทำให้เกิดเหตุการณ์แย่งงบโฆษณากันมากขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตของนิตยสารแจกฟรีที่มีอิทธิพล และผลกระทบต่อนิตยสารที่ต้องเสียเงินซื้อ ซึ่งพบว่ามีจำนวนโฆษณาไม่น้อยที่นิยมลงโฆษณาในนิตยสารประเภทดังกล่าว เนื่องจากราคาค่าโฆษณาไม่แพงนัก อีกทั้งยังระบุได้ว่ากลุ่มผู้อ่านนิตยสารเหล่านี้คือใคร